วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

โซเชี่ยว เน็ตเวิร์ค



 

ความหมายของโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ค

social network   คือ   สังคมของโลกแห่งอินเตอร์เน็ท  หรือเรียกว่าสังคมของมนุษย์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ ที่ไร้สาย
                ในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันนี้รูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น โซเชี่ยล เน็ตเวิร์คได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเว็บในรูปแบบของโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ค คือ เว็บที่คุณสามารถ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก เพื่อนสู่เพื่อน ทำให้ติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากยิ่งขึ้นแต่ในทางกลับกันก็มีภัยด้านมืดของโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัวการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่แพร่หลาย พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน  นักศึกษา  มีเพียง 4 ใน 100  คนที่รู้ด้านลบของการใช้ โซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก  และรู้ว่าต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง’  เป็นคำกล่าวของ ปริญญา หอมเอนก  นักวิชาการและกรรมการและเลขานุการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ปริญญา มองว่า กระแสโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก ที่มาแรงมากๆ แต่การเล่นโซเชี่ยล เน็ตเวิร์กกำลังกลายเป็นดาบสองคม   ถ้าใช้ไม่ระวังก็จะเป็นภัยกับตัวเอง  รวมทั้งองค์กร  โดยเฉพาะการทวิต หรือ โพสต์ข้อมูลที่อาจเป็นช่องโหว่ให้อาชญากรไซเบอร์  ใช้เป็นข้อมูลในการคุกคามผู้ใช้ได้ง่ายๆ   

กระแสและความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของโซเชี่ยวเน็ตเวิร์คในปัจจุบัน

         ปัจจุบันกระแสการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คในสังคมประเทศไทยเริ่มมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูบ รวมทั้งการใช้งานสมาร์ทโฟนนั้นก็มีผลกระทบโดยตรงต่อการใช้งานที่ใช้งานมากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันพฤติกรรมของเด็กจนถึงผู้ใหญ่นั้น มักจะมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่พกพาในชีวิตประจำวัน รวมทั้งหลากหลายองค์กรไม่ว่าจะขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ก็เริ่มหันมาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรวมทั้งยังนำมาแบ่งปันกิจกรรมขององค์กร หรือหน่วยงานผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างแพร่หลาย โดยที่ในขณะนี้เริ่มมีการปรับตัวมากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเป็นมีอัตราการเติบโตที่ขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้งานดังกล่าวนี้นอกจากจะลดต้นทุนในการโฆษณาแล้วยังเป็นการช่วยสร้างการรับรู้ให้แก่สาธารณชนได้อย่างวงกว้าง
          นายมาร์ค เพนน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ ระบุไว้ว่า บริษัทได้เป็นที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำของโลก ซึ่งได้ก่อตั้งมาเมื่อปี 2496 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยยังเป็นผู้ให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำระดับโลก บริษัทฯ ให้บริการวางกรอบแนวคิดเชิงกลยุทธ์และแผนงานประชาสัมพันธ์ในหลากหลายด้าน อาทิ ประชาสัมพันธ์ รัฐกิจสัมพันธ์ การสื่อสารในภาวะวิกฤติ และบริการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในสื่อออนไลน์ โดยทำให้ในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจครอบคลุม 108 ประเทศใน 6 ทวีป ผ่านเครือข่ายบริษัทลูก 73 แห่ง และบริษัทในเครืออีก 83 แห่ง ที่ได้มีการสำรวจการใช้งานโซเชียลมีเดียของโลกเป็นปีที่ 3 โดยได้มีการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ของบริษัทใน Fortune Global 100 บนระบบทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค ยูทูบ กูเกิลพลัส และพินเทอเรสต์ โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งได้ถูกกล่าวถึงในสังคมออนไลน์รวม 10,400,132 ครั้งในช่วง 1 เดือน โดยผ่านทางทวิตเตอร์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับการสำรวจโลกออนไลน์ครั้งล่าสุด เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ ยังได้นำข้อมูลใหม่จากบริษัท วิซิเบิล เทคโนโลยี่ส์ ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการเทคโนโลยีการวิเคราะห์และติดตามผลข้อมูลทางโซเชียลมีเดียมาร่วมประมวลผลด้วย
          ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาบริษัทฯ ได้มองเห็นกระแสการใช้ช่องทางเหล่านี้ที่ได้พัฒนาจากเพียงแค่การเผยแพร่ข่าวเป็นการสร้างสรรค์เนื้อหา ตลอดจนการนำเนื้อหาในสื่อต้นฉบับเริ่มขยายตัวเข้ามาแบ่งปันกับผู้ติดตามทางทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค หรือยูทูบมากขึ้น โดยมีผู้ที่เข้ามาติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทใหญ่ๆ ในช่องทางออนไลน์อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โดยพบว่าจำนวนผู้ติดตามทวิตเตอร์เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2554 ได้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 5,076 ราย เป็น 14,709 ราย/1 บัญชีทวิตเตอร์ของบริษัทที่ได้มีการใช่ช่องทางผ่านทวิตเตอร์ ส่วนเฟซบุ๊คของบริษัท ก็มีจำนวนกด ไลค์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 275 จากช่วงปี 2553 เป็นกว่า 152,646 ครั้งในปี 2555
         นอกจากนี้รายงานดังกล่าวยังได้ระบุอีกว่า ในปี 2555 บริษัทส่วนใหญ่ร้อยละ 87 ได้ใช้โซเชียลมีเดียอย่างน้อยหนึ่งช่องทางเพื่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพบว่ามีอัตราการใช้งานยูทูบเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยจำนวนบริษัทที่มีการใช้ช่องทางยูทูปบนเพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 39 ดังนั้นในปี 2555 จึงได้มีบริษัทกว่าร้อยละ 79 ใช้ช่องยูทูบของตนเองในการสื่อสาร ซึ่งเมื่อเทียบกับในปี 2554 ที่มีเพียงร้อยละ 57 ในช่องทางดังกล่าว และมีอัตราการเข้าชมเฉลี่ยกว่า 2 ล้านครั้ง และมีสมาชิก 1,669 ราย
         แม้ว่าการใช้งานยูทูบจะเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ทวิตเตอร์ก็ยังคงเป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับบริษัทและการพูดคุยที่มีการเอ่ยอ้างถึงบริษัทนั้นได้พบว่า ร้อยละ 82 ของบริษัทใน Fortune Global 100 เป็นสมาชิกทวิตเตอร์อย่างน้อยหนึ่งบัญชี/ บริษัท และได้รับการกล่าวถึง 55,970 ครั้งโดยเฉลี่ย ทั้งนี้ผลสำรวจได้มีการเปิดเผยไว้ว่า บริษัทใน Fortune Global 100 มีจำนวนบัญชีผู้ใช้ในแต่ละแพลตฟอร์มมากกว่าในอดีต โดยเฉลี่ยแต่ละบริษัทมีบัญชีทวิตเตอร์เฉลี่ย 10.1 บัญชี หน้าเฟซบุ๊ค 10.4 หน้า ช่องยูทูบเฉลี่ย 8.1 ช่อง หน้ากูเกิลพลัส 2.6 หน้า บัญชีพินเทอเรสต์ (Pinterest) 2.0 บัญชี, บริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ร้อยละ 74 มีหน้าเฟซบุ๊คบริษัท 1 หน้า, หน้าเฟซบุ๊คของบริษัทร้อยละ 93 มีการอัพเดทข้อมูลเป็นประจำทุกสัปดาห์, บริษัทร้อยละ 48 เป็นสมาชิกของกูเกิลพลัส, บริษัทร้อยละ 25 มีบัญชีพินเทอเรสต์, หน้าเฟซบุ๊คบริษัทแต่ละหน้า มีผู้คนพูดถึงเฉลี่ย 6,101 ราย
         ด้านนายดัลลัส ลอว์เรนซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลยุทธ์สื่อดิจิตอลทั่วโลกของเบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ กล่าวว่า มีผู้คนต้องการมีปฏิสัมพันธ์และติดตามสื่อสารกับบริษัทชั้นนำระดับโลก ขณะที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนสะพานเชื่อมข้อมูลระหว่างองค์กรกับผู้คน สิ่งที่ทำให้น่าสนใจมากคือ บริษัทเหล่านี้มีการติดต่อสื่อสารและสานสัมพันธ์กับผู้ติดตามด้วย การศึกษาพบว่าบัญชีทวิตเตอร์องค์กรจำนวนร้อยละ 79 สร้างความสัมพันธ์ผ่านทวิตเตอร์ด้วยการรีทวีต รวมไปถึงส่งต่อข้อความ และการกล่าวถึง นอกจากนี้บริษัทกว่าร้อยละ 70 ที่มีเฟซบุ๊คก็มีตอบรับต่อความเห็นหรือข้อซักถามในหน้าวอลล์และไทม์ไลน์ของตนด้วย
        โดยทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การใช้งานประเภทสื่อออนไลน์ และการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ขยายได้เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อไปทั่วโลก รวมทั้งยังเป็นการช่วยให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ในรูปแบบใหม่มากขึ้น ซึ่งการใช้งานโซเชียลมีเดีย นี้หากผู้บริโภคนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ก็จะเป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นบทสรุปได้เป็นอย่างดี ว่าทุกประเทศบนโลกนี้ได้เริ่มมีการปรับตัวรับโซเชียลเน็ตเวิร์ค เข้ามามีส่วนช่วยในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นประโยชน์

ประโยชน์ของโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ค

       1. โซเชียลเน็ตเวิร์ก จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
       2. ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
       3. ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
       4. สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
       5. โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
       6. สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

โทษของโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ค

        1. โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
     
       2. เพื่อน ทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
     
       3. โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
     
       4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
     
       5. เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
     
       6. ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ยังเด็ก
     
       7. โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
     
       8. นโยบาย ของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่
     
จึงกล่าว ได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่อง โลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กมากยิ่งขึ้น เพราะ โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน


1 ความคิดเห็น: