วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550



    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.2550

    พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 กรกฏาคม 2550 เป็นต้นไป

 

   ทำไมต้องมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์  

       เพราะคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ  ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น  มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือลามก อนาจารจึงต้องมีมาตรการควบคุม 

 

   ความผิดที่เข้าค่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

        - การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
        - การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์  ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
        - การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
        - การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
        - การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
        - การกระทําเพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ไม่สามารถทํางานได้ตามปกติ
        - การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น
โดยปกติสุข
        - การจําหน่ายชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทําความผิด
        - การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่ํน ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทําความผิด
        - การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล

 

   ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใด

       ผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้จำแนกได้ 4 ประเภท ใหญ่ๆ  ดังนี้

          -ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์
ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่า หรือบริการสื่อสารไร้สาย
          -ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ตทั้งผ่านสายและไร้สาย
หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
          - ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์  หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service
Provider)
          - ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ
ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ  web service เป็นต้น

   

   ข้อมูลของผู้ใช้บริการ

       ผู้ให้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม  ต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จําเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้ บริการได้ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจําตัวประชาชน USERNAME  หรือ PIN CODE ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน  นับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
       หากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท
ต่อไปไม่ว่าจะไปใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ตรงจุดใด จะต้องมีการแจ้งลงทะเบียนโดยต้องใส่ username
และ  password
เพือให้ผูู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถเก็บบันทึกการเข้ามาใช้งานของเราได้  
        รวมถึงเว็บบอร์ดทั้งหลาย ซึ่งมีผู้มาโพสเป็นจํานวน ร้อย-พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ 
และผู้ดูแลโฮสติง  หรือผู้ทำอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  อาจเสียงต่อการระมัดระวัง ข้อความเหล่านั้นพระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์  (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ)  ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการ  ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ ผู้อื่น หรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กร ผู้รับผิดชอบมีหน้าที่ดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"      

 

   ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

       ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทำสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะทำให้เกิด "เกิดการกระทำความผิด" ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

          1. ไม่ควรบอก Password แก่ผู้อื่น
          2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
          3. อย่าติดตั้งเครือค่ายระบบไร้สายในบ้านหรือที่ทำงาน โดยไม่ใช้มาตราการการตรวจสอบผู้ใช้งาน และการเข้ารหัสลับ
          4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วย ID และ Password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
          5. อย่านำ user ID และ Password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
          6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
          7. อย่ากด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า Log in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ
          8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากเข้ารหัสลับข้อมูล

 

   ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

        1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขาแล้วเราแอบเข้าไป จําคุก 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน   10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        2. ไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แล้วไปยังไปบอกให้คนอื่นรู้ต่อ จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        3. แอบไปเจาะข้อมูลของผู้อื่นที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        4. แอบไปดักจับข้อมูลผู้อื่นระหว่ างการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 
        5. ไปแก้ไขข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
        6. ส่ง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่น จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        7. ส่งข้อมูลหรืออีเมลล์ให้ผู้อื่นซ้ำๆ โดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
        8. ความผิดผิด ข้อ 5. กับ ข้อ 6. ทําให้บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่ เกิน 200,000 บาท หากก่อความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3-5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 -300,000 บาทและถ้าทําให้ใครตายก็จะเพิมโทษเป็ น จําคุกตังแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี
        9. ถ้าเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อทําให้ทำความผิดในหลายข้อข้างต้น จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่ เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        10. สร้างภาพโป๊ เรื่องเท็จ ทําการปลอมแปลง กระทําการใดๆที่กระทบความมั่นคง ก่อการร้าย และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        11. เจ้าของเว็บ สนับสนุน / ยินยอมให้เกิดข้อ 10.จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,00 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
        12. เอารูปผู้อื่นมาตัดต่อแล้วเอาไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
       
       

  



ความรู้เรื่อง Search engine




Search engine


เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสําคัญ (keyword)
 1  คําสําคัญทีเป็นภาษาไทย
      2  คําสําคัญทีเป็นภาษาอังกฤษ
        3  คําสําคัญทีมีทั้ง 2 ภาษาปนกัน

1) คําสําคัญทีเป็นภาษาไทย
   ต้องการค้นหาข้อมูลเกียวกับ นักคณิตศาสตร์
คําสําคัญอันดับแรก คือ นักคณิตศาสตร์
แต่อาจดูกว้างไป และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้า
ดังนันจึงต้องจํากัดผลการค้นหาให้แคบลง
เช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก
คําสําคัญทีใช้ ได้แก่ นักคณิตศาสตร์ และคําว่า กรีก
จะได้ผลการค้นหาจํานวนน้อยลง ง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้
    ในกรณีทคําสําคัญนั้นแสดงผลการค้นหาว่า
ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ ให้ลองเปลียนคําสําคัญใหม่ไปเรือยๆ
คําสําคัญควรระบุอย่างน้อย 2 คํา จะทําให้ผลการค้นหาแคบลง
เท่าทีต้องการ

2) คําสําคัญทีเป็นภาษาอังกฤษ
   ถ้าต้องการข้อมูลเกียวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก
เป็นภาษาอังกฤษ คําสําคัญ คําแรก อาจใช้
greek mathematician
และถ้าใช้เครื่องหมาย “  ” คร่อมระหว่างคําสําคัญคู่ใดๆ
ผลการค้นหาจะแตกต่างกัน
“greek mathematician”

3) คําสําคัญทีเป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ
เช่น ต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ไฟฟ้ากระแส คําสําคัญทีใช้ได้ เช่น
           1) ไฟฟ้ากระแสตรง “direct current”
            2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง
 3) “direct current” เนือหา ฯลฯ


การใช้คำสําคัญในทางตรรกศาสตร์
คําในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ ได้แก่ AND OR NOT

วิธีการใช้งานมีดังนี
1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหา
ประกอบด้วยคําสําคัญทีอยู่ติดกับคําว่า AND ทั้งสองคํา
เช่ น “chemistry” AND “atomic theory”
หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลทีมีคำว่า chemistry และคําว่า 
atomic theory ทั้ง 2 คําอยู่ในเอกสารเดียวกัน

2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ ผลการค้นหา
ประกอบด้วยคําสําคัญตัวใดตัวหนึ่งทีอยู่ติดกับคําว่า OR
เช่น “physics” OR “mechanics”
หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลทีมีคำว่า physics หรือ mechanics
คําใดคําหนึ่งก็ได้
การใช้คำสําคัญในทางตรรกศาสตร์

3. NOT ใช้เมือต้องการให้ผลการค้นหา
ประกอบด้วยคําสําคัญทีอยู่หน้าคําว่า NOT แต่ไม่ต้องค้นหา
คําทีอยู่หลังคําว่า NOT
เช่น mathematics NOT calculus
หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลทีมีคำว่า mathematics
แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย
บีบประเด็นหัวข้อเรื่องทีต้องการค้นหาให้แคบลง เช่น
ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึงอาจจะใช้คำว่า
คอมพิวเตอร์ หรือ Computer และควรค้นหาคําและ
ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคําทีกําลังค้นหาด้วย เช่น
information technology หรือ IT เป็นต้น
เลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคําเดียวๆ หรือเป็นคําทีมีตัวเลขปน
แต่ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่ เครื่องหมายคําพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น
"windows 98"
ใช้ เครืองหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา
โดย + ใช้ กับคําที่ต้องการใช้ในการค้นหา และ - ใช้ กับคําที่
ไม่ต้องการในการค้นหา
เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ ผลลัพธ์ ของการค้นหา
ต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ
การใช้เครื่องหมายบวกต้องพิมพ์ติดกับคําหลักเสมอ
ไม่ควรมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคําหลัก
เช่น +เศรษฐกิจ +การเมือง
หมายถึง หน้าเว็บเพจทีค้นได้จะปรากฏ
คําว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคํา
หรือ +เศรษฐกิจ การเมือง
โดยคําว่า "การเมือง" ไม่มีเครื่องหมายบวก "+"
หมายถึง การค้นหาหน้าเว็บเพจที่มีคําว่า " เศรษฐกิจ"
โดยในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏ
คําว่า "การเมือง" ก็ได้
ครื่องหมายลบ "-" หมายถึง
เป็นการระบุให้ ผลลัพธ์ ของการค้นหาต้องไม่ ปรากฏคํานั้น
อยู่ในหน้าเว็บเพจ
เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า
โรงแรม แต่ ต้องไม่ ปรากฏคําว่า รีสอร์ท อยู่
การใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B
เป็นคําหลักที่ต้องการค้นหา
ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้าดอกไม้
หมายถึง หน้าเว็บเพจทีพบจะต้องปรากฏคําว่า "มะม่วง"
แต่ ต้องไม่ ปรากฏคําว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้าดอกไม้ "
อยู่ในหน้าเดียวกัน